
การใช้เครื่องฝึกจำลองมาช่วยสนับสนุนขั้นตอนการฝึกให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำเอาหลักการองค์ประกอบของการเรียนรู้ของมนุษย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการใช้ขั้นตอนการเรียนรู้จากประสบการณ์การเรียนรู้จากการมีปฏิกิริยาตอบสนอง ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนรู้ให้มีการปฏิบัติงาน หรือทำขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง
๒. องค์ประกอบของการเรียนรู้
๒.๑ สิ่งเร้า ( Stimulus ) เป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาโต้ตอบออกมาและเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมว่าจะแสดงออกมาในลักษณะใด สิ่งเร้าอาจเป็นเหตุการณ์หรือวัตถุและอาจเกิดภายในหรือภายนอกร่างกายก็ได้ เช่น เสียงนาฬิกาปลุกให้เราตื่น กำหนดวันสอบเร้าให้เราเตรียมสอบ
๒.๒ แรงขับ ( Drive ) มี ๒ ประเภทคือแรงขับปฐมภูมิ ( Primary Drive ) เช่น ความหิว ความกระหาย การต้องการพักผ่อน เป็นต้น และแรงขับทุติยภูมิ ( Secondary Drive ) เป็นเรื่องของความต้องการทางจิตและทางสังคม เช่น ความวิตกกังวล ความต้องการความรัก ความปลอดภัย เป็นต้น แรงขับทั้งสองประเภทเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอันจะนำไปสู่การเรียนรู้
๒.๓ การตอบสนอง ( Response )เป็นพฤติกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลแสดงออกมาเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ หรือสถานการณ์ อาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่รอบตัวเรานั่นเอง
๒.๔ แรงเสริม ( Reinforcement ) สิ่งที่มาเพิ่มกำลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่าง
สิ่งเร้ากับ การตอบสนอง เช่น รางวัล การตำหนิ การลงโทษ การชมเชย เงิน ของขวัญ เป็นต้น
จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นอาจสรุปได้ว่า การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลจากการที่บุคคลทำกิจกรรมใด ๆ ทำให้เกิดประสบการณ์และเกิดทักษะต่าง ๆ ขึ้นยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
ซึ่งการใช้ Simulator มาทำการฝึก และเรียนรู้ให้เข้าใจในการทำงาน หรือขั้นตอนต่าง ๆ ทำให้มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของมนุษย์ ทำให้ประโยชน์ของ Simulator นั้นมีความสำคัญต่อขั้นตอนการฝึก เพื่อให้เกิดการบรรลุผลที่มีประสิทธิภาพกับผลที่ได้ต่อการฝึกเป็นอย่างมาก
๓. ประวัติของเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง
ค.ศ.1920 โดยบิดาของเทคโนโลยี ทางด้านนี้คือ เอ็ดวิน เอ ลิงค์ และชื่อของ flight Simulator นั้น ก็มีชื่อต่าง ๆ เช่น Aviation Simulator หรือ Flight Simulator ตามการใช้งาน เครื่อง Flight Simulator ในยุคปัจจุบันได้พยายามที่จะพัฒนารูปแบบการฝึกให้มีความใกล้เคียงกับความเป็นธรรมชาติอย่างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยพัฒนาด้วยเทคโนโลยีรุ่นใหม่เข้ามาปรับแต่งตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด เทคโนโลยีของ Flight Simulator ไม่เคยหยุดนิ่งเนื่องจากมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทั้งในด้าน Hardware และ Software ซึ่งผู้ดูแล Flight Simulator โดยทั่วไป จะต้องมีการ Update Version ของ Software เป็นไปตามประเภทของเครื่องบิน (Aircraft Type) นอกจากนี้ยังมีการ Modify Equipment Instrument ต่าง ๆ ที่
ทำหน้าที่เสมือนในเครื่องบินจริงทุกประการ
ด้วยความก้าวหน้าของระบบ Visual System การสร้างภาพเสมือนว่ากำลังทำ การบินอยู่ในแต่ละสนามบินต่าง ๆ เช่น เชียงใหม่ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ ลอนดอน ปารีส ฯลฯ และสามารถจำลองสภาพอากาศได้ในทุกสภาพอากาศ เช่น อากาศปิด หมอกหนาทึบ ฝนตกฟ้าผ่า ฟ้าคะนอง สร้างบรรยากาศได้เสมือนจริง พร้อมระบบเสียง เช่นเสียงเครื่องยนต์ Aerodynamic เสียงฟ้าผ่า เป็นต้น Flight Simulator จะเหมือนเครื่องบินทั่ว ๆ ไป แต่จะตัดส่วนที่เป็น Airframe กับเครื่องยนต์ออกไป ส่วนที่เพิ่มเข้ามาก็คือระบบ Motion กับระบบ Visual
๔. รูปแบบการใช้งานเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง
การใช้งานเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง เป็นการจำลองให้เหมือนกับการปฏิบัติการบินของนักบินภายในห้องนักบินจริง สำหรับตัว Software Program ได้จำลองสถานการณ์การบินที่เป็นการบินปรกติ ตลอดจนการจำลองความบกพร่องของเครื่องบิน ด้วยการควบคุมจากส่วนควบคุมการจัดการเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง (Instructor Operation Station) ให้พร้อมใช้งานได้ทันทีที่ครูฝึกสั่งการ นักบินผู้รับการฝึก สามารถตอบรับแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งจะมีการประเมิน (Assessment) ในทุกขั้นตอนทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่า ผู้ที่ได้รับการฝึกบินได้ปฏิบัติงาน เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย และสามารถบังคับเครื่องบินด้วยความมั่นใจ โดย Software Program ดังกล่าวก็จำแนกเฉพาะตามแบบประเภทของเครื่องบิน (Aircraft Type)
แต่หากมีการพัฒนาด้านมาตรฐานการฝึก รูปแบบการฝึก พัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการฝึก บุคลากรด้านการดูแลรักษาและซ่อมบำรุง เพื่อให้การบริหารการจัดสรรงบประมาณให้คุ้มค่ากับการลงทุน การเลือกเครื่องช่วยฝึกบินจำลองอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามมาตรฐานของคุณสมบัติต่าง ๆ จะส่งผลให้คุณภาพการฝึกเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศอย่างชัดเจน
๕. มาตรฐานการฝึกด้วยเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง
มาตรฐานการฝึกด้วยเครื่องช่วยฝึกบินจำลองในอดีตเป็นการนำเอาเครื่องช่วยฝึกบินจำลองตามที่ผู้ผลิตเครื่องบินแนะนำมาใช้ในการฝึกนักบินในหน่วยบินต่าง ๆ ซึ่งมาตรฐานของคุณสมบัติเครื่องช่วยฝึกบินจำลองจะแตกต่างกันออกไปตามการเลือกใช้ของผู้ผลิตเครื่องบินนั้น ๆ ได้เลือกใช้
ปัจจุบันการนำเอาเครื่องช่วยฝึกบินจำลองตามเอกสาร Doc 9625 – AN/938 Manual of Criteria for the Qualification of Flight Simulation Training device Third Edition – 2009 จาก International Civil Aviation Organization (ICAO) โดยเป็นคู่มือ และคำแนะนำการนำเครื่องช่วยฝึกบินจำลองมาใช้ในการฝึกให้เหมาะสมกับหลักสูตร และเป็นมาตรฐานเดียวกัน ภายใต้ประเทศสมาชิกขององค์กรการบินระหว่างประเทศ (ICAO) ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก ภายใต้การกำกับดูแลโดยสำนักงานการบินพลเรือน Civil Aviation Authority of Thailand (CAAT)
วัตถุประสงค์หลักของเอกสาร Doc 9625 ซึ่งจัดทำขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1992 โดยมีการจัดการประชุมครั้งพิเศษประกอบด้วยสมาชิกนานาประเทศที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อหาข้อสรุปหลักการ ในการกำหนดเกณฑ์การประเมินเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันภายใต้สมาชิกประเทศ ICAO ซึ่งถือเป็นเอกสารอย่างเป็นทางการฉบับแรกเพื่อประกาศใช้ในการแนะนำการออกแบบ รูปแบบการประเมินเครื่องช่วยฝึกบินจำลองก่อนออกเอกสารรับรองเครื่องฝึกจำลองการบิน เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องช่วยฝึกบินจำลองออกแบบตามมาตรฐาน ใช้ในการฝึกบินภาคพื้นได้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ จนถึงปัจจุบันนี้เอกสารปรับปรุงฉบับที่สาม ได้ออกมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 เป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี รวมถึงหลักสูตรการฝึกที่เปลี่ยนไปตามรูปแบบการพัฒนาในอุตสาหกรรมการบินของโลก